วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์วัดประเมิน

คำศัพท์การวัดประเมิน
การตรวจสอบสามเส้า (triangulation)  เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฎการณ์เดียวกัน นำมาใช้ได้ในการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative) คือการตรวจสอบความถูกต้อง (validation) และการศึกษาเชิงคุณภาพ (การหาคำตอบ) เป็นกลยุทธการใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อหาความน่าเชื่อถือ (credibility) ของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นวิธีการทางเลือกของเกณฑ์พิจารณาปกติเช่นความเที่ยงตรง (reliability) และความถูกต้อง (validity) เป็นการกระบวนการที่ถูกนำมาใช้ในการสังคมศาสตร์ด้วยการรวบรวมวิธีการใช้ผู้สังเกตุ (observer) ทฤษฎี (theory) วิธีการ (methods) และข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical material) ที่หลายหลายซ้ำซ้อนกัน นักวิจัยหวังว่าจะขจัดจุดด้อยหรือความลำเอียงภายในและปัญหาที่เกิดจากการใช้วิธีการอย่างเดียวและการใช้ทฤษฎีเดียวในการศึกษา
การตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Data Triangulation) คือ การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มานั้นถูกต้องหรือไม่ วิธีการตรวจสอบของข้อมูลนั้น จะต้องตรวจสอบแหล่งที่มา 3 แหล่ง ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคล                  การตรวจแหล่งเวลา หมายถึง การตรวจสอบว่าตัวแปรอยู่ในช่วงเวลาต่างกัน หรือเหมือนกัน ถ้าเหมือนกันควรตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย 
                การตรวจสอบสถานที่ หมายถึง การตรวจสอบตัวแปรในสถานที่เดียวกันหรือไม่ หากมาจากสถานที่เดียวกันมีผลออกมาเหมือนกัน ผู้วิจัยควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่ ที่แตกต่างกันด้วย 
                 การตรวจสอบบุคคล หมายถึง ถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไป ข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่
 การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (Investigator Triangulation) คือการตรวจสอบว่าผู้วิจัยแต่ละคนจะได้ข้อมูลต่างกันอย่างไร โดยการเปลี่ยนตัวผู้สังเกตแทนการใช้ผู้วิจัยคนเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะสร้างความแน่ใจได้ดีกว่าผู้วิจัยเพียงคนเดียวมาก
 การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (Theory Triangulation) คือ การตรวจสอบว่าผู้วิจัยสามารถใช้แนวคิดทฤษฎีที่ต่างไปจากเดิมตีความข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจทำได้ง่ายกว่าใน ระดับสมมุติฐานชั่วคราว (Working Hypothesis) และแนวคิดขณะลงมือตีความสร้างข้อสรุปเหตุการณ์ และแต่ละอย่าง ซึ่งโดยปกตินั้น การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎีนั้นทำได้ยาก
การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological Triangulation) คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งเก่า เพื่อรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกันโดยใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถามพร้อมกันก็ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเอกสาร หรือทำการซักถามผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อความแน่นอนว่าเหมาะสมหรือไม่ 

1. Data Triangulation    หมายถึงการเปรียบเทียบและตรวจสอบความแน่นอนของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ มาเปรียบเทียบ
2. Multiple Investigator Triangulation หมายถึง การใช้นักวิจัยหลายคนในสนามแทนการใช้นักวิจัยเพียงคนเดียวเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลเดียวกันในสภาวะเดียวกัน
3. Multiple Analyst Triangulation หมายถึง การใช้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสนามมากกว่า 2 คนขึ้นไป ต่างคนต่างวิเคราะห์ให้ได้ข้อค้นพบแล้วนำข้อค้นพบมาเปรียบเทียบ
4. Reviews Triangulation หมายถึง การให้บุคคลต่าง ๆ ที่ไม่ใช่นักวิจัยทำการทบทวนข้อค้นพบจากการวิเคราะห์ของคณะนักวิจัย
5. Methods Triangulation หมายถึงการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลหลายวิธีการ
6. Theory Triangulation หมายถึง การใช้มุมมองของทฤษฎีต่างๆมาพิจารณาข้อมูลชุดเดียวกัน
7. Interdisciplinary Triangulation หมายถึง การใช้สหวิทยาการมาร่วมวาทกรรม อธิบายข้อค้นพบต่างๆ


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น